นายจักรกฤษณ์ ประมวลศิลป์
ชีวิตคนเรานั้นไม่มีความแน่นอน ไม่มีใครอาจทราบว่าตนเองนั้นจะมีอายุอยู่ได้ถึงเมื่อใด
เนื่องจากทุกคนล้วนเกิดมา ต้องประสบพบเจอกับความทุกข์ทรมานและความเจ็บป่วย รวมไปถึงการตาย
ซึ่งเป็นสิ่งที่คนเราทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ความตายนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกหนีได้เช่นกัน
ในขณะที่คนเรายังคงมีชีวิตอยู่ เชื่อว่าหลายๆคนนั้นคุ้นเคยกับคำว่า “มรดก หรือ พินัยกรรม”
ซึ่งก่อนที่เราทุกคนจะถึงแก่ความตายนั้น เราสามารถระบุความต้องการในการที่จะยกทรัพย์สินของตนเอง
ให้ตกแก่ผู้อื่นหรือทายาทที่ตนเองต้องการให้ได้ โดยการทำพินัยกรรม ซึ่งพินัยกรรมนั้นสามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยการเขียนเจตนาที่จะยกทรัพย์สินหรือทรัพย์มรดกของตนให้แก่ผู้อื่นตามความต้องการ ซึ่งการเขียนพินัยกรรมนั้นมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น การเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับ ,
การพิมพ์พินัยกรรมแบบธรรมธรรมดา หรือการทำพินัยกรรมฝ่ายเมืองซึ่งจะต้องดำเนินการที่อำเภอ
แต่ไม่ว่าจะดำเนินการจัดทำในรูปแบบใด พินัยกรรมนั้น ย่อมมีแบบและวิธีการที่แตกต่างกัน ผู้ทำพินัยกรรมควรศึกษารายละเอียดและทำความเข้าใจ เพื่อให้พินัยกรรมของตนเองนั้นสมบูรณ์และถูกต้องตามกฎหมาย
ในวันนี้ผู้เขียน จะนำเสนอวิธีการที่ทุกๆท่านสามารถจัดทำพินัยกรรมได้ในฉบับง่ายๆ และสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย โดยในการจัดทำพินัยกรรมนั้นเราต้องรู้จักกับความหมายของพินัยกรรมเสียก่อน พินัยกรรม หมายความว่า การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน หรือในการต่างๆ
อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว ดังนั้น การทำพินัยกรรมเป็นเรื่องที่เจ้ามรดกประสงค์จะยกทรัพย์สินของตนให้แก่ใครก็ได้
โดยพินัยกรรมแบบที่ทุกท่านสามารถจัดทำได้ด้วยตนเอง หรือติดต่อสำนักงานกฎหมายและทนายความให้เป็นผู้จัดทำเพื่อความถูกต้องตามกฎหมายนั้น มีอยู่ 2 แบบ คือ 1. การทำพินัยกรรมแบบเขียนด้วยตนเองทั้งฉบับ และ 2. การทำพินัยกรรมแบบธรรมดาหรือการพิมพ์พินัยกรรม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
การทำพินัยกรรมแบบเขียนด้วยตนเองทั้งฉบับ
การทำพินัยกรรมแบบธรรมดาหรือการพิมพ์พินัยกรรม
279/73 ถนน วิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210
279/73 ถนน วิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210